เกี่ยวกับเรา

ข้อมูลโครงการ

โครงการจัดตั้งศูนย์ล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันของคณะ สถาบัน และสำนักงานต่างๆ ที่มีบุคลากร และองค์ความรู้ในรูปแบบผลงานวิชาการ งานวิจัย รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับล้านนาศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และแหล่งองค์ความรู้ด้านล้านนาคดีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน สามารถสืบค้นได้ และเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์และฟื้นฟูอักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพื้นฐานอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นล้านนา โครงการจัดตั้งศูนย์ล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้จัดทำสื่อการเรียนรู้ระบบอักษรธรรมล้านนา หลักสูตรเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เรียนที่ไม่มีพื้นฐานทางภาษาและอักษรธรรมล้านนามาก่อน ได้ทราบถึงที่มาและรู้จักกับตัวอักษรธรรมล้านนา

โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถจดจำและเขียนตัวอักษรธรรมล้านนาได้เป็นสำคัญ ประกอบด้วย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เครื่องหมาย และตัวเลข รวมถึงเข้าใจหลักวิธีการประสมคำตามอักขรวิธีล้านนาแบบพื้นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านและประสมคำอย่างง่าย ๆ ได้แก่ คำที่ประกอบด้วยหน่วยเสียงพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์เป็นสำคัญ

นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักในคุณค่าความสำคัญของอักษรธรรมล้านนาซึ่งเป็นรากเหง้าวัฒนธรรมตัวเขียนอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นล้านนาที่สืบทอดมานานกว่าหลายร้อยปี

สื่อการเรียนรู้ระบบอักษรธรรมล้านนาที่โครงการจัดตั้งศูนย์ล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดทำขึ้นนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ สื่อการสอนผ่านระบบ CMU-MOOC และแบบฝึกหัดออนไลน์ในรูปแบบ Game-Based Learning



ขอขอบคุณ

ที่ปรึกษา Artwork & Game Play Design

ดร.กลวัชร คล้ายนาค

อาจารย์ประจำหลักสูตรแอนนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์

วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ปรึกษาด้านเนื้อหา

รองศาสตราจารย์เรณู วิชาศิลป์ ,

อาจารย์สนั่น ธรรมธิ ,

ดร.ดิเรก อินจันทร์



ข้อมูลคาถาและไสยศาสตร์ล้านนา

พระศุภชัย ชยสุโภ (เจ้าชางแสงข่อง)



Font

LNTilok V.6.10 byPichaiSaengboon



คณะทำงานโครงการสื่อการเรียนรู้ระบบอักษรธรรมล้านนา (หลักสูตรเบื้องต้น)

อมรรัตน์ เฟื่องวรธรรม ,

กลวัชร คล้ายนาค ,

ธิตินัดดา จินาจันทร์ ,

พงษ์พนา พงษ์โสภา